พฤติกรรมสำคัญ 7 ประการ ที่คนรวยปฎิบัติ


SUBMITTED BY: freestylethai

DATE: Feb. 7, 2016, 6:55 a.m.

FORMAT: Text only

SIZE: 2.6 kB

HITS: 1369

  1. พฤติกรรมสำคัญ 7 ประการ ที่คนรวยปฎิบัติ
  2. *******************************************
  3. ความเชื่อที่ว่าเศรษฐีคือ...คนที่ใช้ชีวิต อย่างสุขสบาย, กินอยู่อย่างหรูหรา, บ้านเป็นคฤหาสน์หลังใหญ่ๆ, รถหรูคันงาม, ชอปปิ้ง กระจาย กินใช้อย่างฟุ่มเฟือย, ข้าทาสบริวารตามเป็นพรวน ฯลฯ
  4. ที่กล่ามานั้นเป็นเพียง "ภาพมายา" ที่วงการโทรทัศน์สร้างขึ้นมาทั้งนั้น (อันนี้น่าแปลกที่ละครต่างประเทศไม่เคยสร้างภาพความรวยแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเกาหลี, ญี่ปุ่น, อเมริกา มีแต่ละครไทยนี่แหละ ไม่ว่าจะเก่าแบบบ้านทรายทอง หรือ แบบวนิดา ล้วนถูกปรุงแต่งแบบผิดๆ ให้ถูกติดกักทางความคิดทางด้านการเงิน
  5. การวิจัยเกี่ยวกับ พฤติกรรม "คนรวย" ในสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยสัมภาษณ์เก็บข้อมูลคนที่มีทรัพย์สินเกิน 1 ล้านเหรียญ (ซึ่งมีเพียง 3.5% ของประชากรทั้งประเทศ) กว่า 500 คน และสำรวจข้อมูลผู้ที่มีรายได้สูงอีกกว่า 1 หมื่นคน พบว่าเศรษฐีส่วน ใหญ่ไม่ได้มีชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย และปัจจัยที่ส่งเสริมให้ฐานะมีความมั่นคงอยู่ได้ เกิดจากพฤติกรรมสำคัญ 7 ประการ อันได้แก่
  6. 1. มีความมัธยัสถ์ รู้จักเก็บออม ใช้จ่ายน้อยกว่าเงินที่หาได้
  7. 2. มีการจัดสรรเวลา และเงิน อย่างมีประสิทธิภาพในการสะสมความมั่งคั่ง
  8. 3. มีความเชื่อว่าอิสรภาพทางการเงิน สำคัญกว่าการแสดงออกซึ่งฐานะอันร่ำรวยหรือสูงส่ง
  9. 4. ไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองมาตั้งแต่เกิด พ่อแม่ไม่ได้อุ้มชูด้วยเงินทอง (อันนี้มีข้อมูลชัดเจนว่า โดยเฉลี่ยความมั่งคั่งร่ำรวยที่ส่งต่อผ่านจากรุ่นพ่อแม่ ลงมา ลูกหลาน มักจะ maintain ได้ไม่เกิน 3 generations จะเสื่อมถอยลง)
  10. 5. ลูกหลานที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องสามารถพึ่งพาตนเองได้
  11. 6. มีประสบการณ์และทักษะในการแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ
  12. 7. มักเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว หรือประกอบวิชาชีพอิสระ มักจะเริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ ที่ลงทุนด้วยเงินสะสมของตนเอง
  13. "คนที่รวยจริง ไม่ใช่คนที่ดูรวย อย่างที่เราเข้าใจกัน"
  14. เคย สังเกตหรือเปล่าว่าคนที่รวยเฉียบพลัน มักมีฐานะจนลงหรือแย่ลงกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นอดีตนักแสดง, ดารา, ตลก, อดีตนักมวยแชมป์โลก หรือนักกีฬาเหรียญโอลิมปิก หรือพวกถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่ 1 ฯลฯ จะมีซักกี่คนที่ยังคงเก็บสะสมเงินทองทรัพย์สมบัติที่ได้มา หรือต่อยอดทรัพย์สินเหล่านั้นให้เพิ่มขึ้นได้ รายได้, เงินรางวัล, ทอง ฯลฯ ที่ได้มามันหายไปไหนหมด ?
  15. ดังนั้น การมีเงินอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรได้ทั้งหมด หรืออาจทำให้ปัญหามันมากขึ้น ถ้าเราไม่มีวิธีคิด หรือความรู้ในการจัดการเกี่ยวกับเงินที่ถูกต้อง
  16. เป้าหมายของอิสรภาพทางการเงิน ไม่ได้แปลว่าเราจะรวย แต่หมายถึงว่าเราต้องการมีหลักประกันทางการเงินที่มั่นคง เพียงพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย สมควรแก่อัตภาพโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร และไม่ต้องหวาดผวากับปัญหาเรื่องเงินๆ ทองๆ ในการใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งผมเองก็ได้พูดในบทความก่อนๆ เกี่ยวกับการออม และการสร้างสภาวะจิตที่นิ่งสู่ความร่ำรวยมาแล้ว ลองกลับไปย้อนอ่านกันดูนะครับ
  17. **********************************************************

comments powered by Disqus